ชนเผ่าไทกะเลิง

นิทรรศการ

ประวัติความเป็นมา

        ชุมชนบ้านหนองสังข์ ต.หนองสังข์ อ.นาแก จ.นครพนม บรรพบุรุษมาจากเมืองเวียงอ่างคำ แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว จากนั้นข้ามฝั่งโขงมาตั้งบ้านอยู่ที่บ้านหนองสังข์ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร และอพยพลงเรือหาปลาลอยลำขึ้นมาตามลำน้ำโขงพบลำน้ำก่ำที่ไหลมาจากหนองหาร จ.สกลนคร และได้พายเรือขึ้นไปเรื่อยๆ พบน้ำหนองสังข์ติดกันกับลำน้ำก่ำมีพื้นที่พันกว่าไร่ จึงสร้างบ้านเรือน จาก 8 ครอบครัว จนถึงปัจจุบัน เกือบพันหลังคาเรือน ประชากรเกือบสี่พันคน

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
         1. ดอนตาทอง
         2. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
         3. วัดสระพังทอง

การประกอบอาชีพ
         ส่วนมากแล้วไทยกะเลิงจะทำอาชีพ ทำนา เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ และยังมีกลุ่มทอผ้า เช่นผ้าคราม ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าลายขิด ผ้าสิ้นหมี่ ผ้าย้อมสีสมุนไพรและไม้มงคล กลุ่มจักรสารจากไม้ไผ่

ความเชื่อ ประเพณี ความสำคัญ
        1. มกราคม ทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่
        2. กุมภาพันธ์ บุญเดือน 3 ทำขวัญข้าว เล้าข้าว
             – ผู้สูงอายุ ขวัญควาย ขวัญยานพาหนะ
             – 14 กุมภาพันธ์ วันสืบสานวัฒนธรรมไทยกะเลิง
             – บุญกองข้าว บุญข้าวจี่ วัดสระพังทอง และวัดศรีเจริญสุข
             – เลี้ยงปู่ตา
        3. มีนาคม บุญพระเวสสันดร วัดสระพังทอง (ลงผีหมอเหยา)
        4. เมษายน ประเพณีสงกรานต์ วันผู้สูงอายุ ประเพณีบุญพระเวสสันดร วัดศรีเจริญสุข
        5. พฤษภาคม พิธีสูตรขวัญ ผูกข้อมือพระภิกษุ วันแรกนาขวัญ
        6. มิถุนายน บุญชำระบ้าน
        7. กรกฎาคม แห่เทียนพรรษา หมู่บ้านศีล 5 หมู่บ้านศีล 8
       8. สิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
       9. กันยายน บุญข้าวสาก บุญประเพณีการแข่งขันเรือยาม
       10. ตุลาคม บุญออกพรรษา
       11. พฤศจิกายน บุญกฐินสามัคคีชุมชน ประเพณีลอยกระทง
       12. ธันวาคม ส่งท้ายปีเก่า

วิถีการกินอยู่ อาหารพื้นบ้าน
       ชุมชนบ้านหนองสังข์ รับประทานอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาล และแต่จะนำวัตถุดิบไปประกอบเป็นอาหาร เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด หน่อไม้ แมงดา จักจั่น ไข่มดแดง ดอกกระเจียว ผักหวาน ผักติ้ว ผักพาย พริก ถั่ว มะเขือ นำวัตถุดิบเหล่านี้มาทำ แกงอ่อม ป่น ลาบ ปิ้ง หมก ไก่ดำต้มหม้อดิน แกงขะยุขะยะ(แกงปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย แมงเหนี่ยว ใส่ผักรวม) น้ำพริกปลาร้าผัดสด

การแสดง
        1. รำกลองตุ้ม
        2. รำทอผ้ามุก

อาหารเด่นประจำชนเผ่า
        1. ไก่ดำต้มหม้อดิน (ต้มไก่แหล่มอดิน)  อาหารประจำธาตุ “ลม”
ความเป็นมาของอาหาร
        ต้มไก่เป็นอาหารพื้นบ้านของคนอีสาน ไทยกะเลิงสมัยก่อนมีสัตว์เลี้ยงใต้ถุนบ้าน และนิยมเลี้ยงไก่เพื่อเป็นอาหารและจำหน่าย เมื่อมีญาติพี่น้องมาเยี่ยมเยือนที่บ้าน ชาวกะเลิงมักจะเลือกเมนูต้มไก่สู่กิน ยิ่งเป็นไก่ดำยิ่งมีคุณค่าและมูลค่ามหาศาล
ประโยชน์ทางอาหาร
         2. แกงขะยุขะยะ(แกงปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย แมงเหนี่ยว ใส่ผักรวม)  อาหารประจำธาตุ “น้ำ”
ความเป็นมาของอาหาร
        เป็นอาหารของชาวอีสาน ของบรรพบุรุษ วัตถุดิบมีอยู่ตามท้องไร่ท้องนา ห้วยหนอง หาได้อย่างละเล็กละน้อย ถ้าแยกชนิดในการปรุงอาหารคงไม่พอ เลยแกงรวมกัน ผักที่เก็บตามท้องไร่ท้องนา เช่น ผักขี้ขม ผักขี้ส้ม ผักติ้ว
ประโยชน์ทางอาหาร
         เนื้อปลา : โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก
         3. แจ่วบองริมสวน (น้ำพริกปลาร้าผัดสด) อาหารประจำธาตุ “ลม”
ความเป็นมาของอาหาร
         เป็นอาหารเอื้ออาทรดึกดำบรรพ์ และเป็นอาหารของชาวอีสานทำง่าย และเป็นผลิตภัณฑ์แปลรูปอาหาร คือ ปลา ในฤดูที่มีปลามาก ทำไว้รับประทานในฤดูที่ขาดแคลน ทดแทนกันได้
ประโยชน์ทางอาหาร
         ให้พลังงานจากเนื้อปลา และวิตามินจากผัก
         4. ข้าวฝัน  อาหารประจำธาตุ “ดิน”
ความเป็นมาของอาหาร
         เป็นอาหารหวานของบรรพบุรุษ ซึ่งแต่ก่อนข้าวสารต้องตำครกโบราณ ใช้ประกอบอาหารหวานในงานบุญแจกข้าว งานแต่ง งานบุญประเพณีวัด เข้าพรรษา ออกพรรษา ข้าวประดับดิน ข้าวสาก
ประโยชน์ทางอาหาร
        ให้พลังงานแก่ร่างกาย

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา