ชนเผ่าไทโส้หรือไทยกะโซ่

นิทรรศการ

ประวัติความเป็นมา

         ชาวไทยโส้เป็นกลุ่มชาติพันธ์หนึ่งในจังหวัดนครพนมที่มีปะวัติศาสตร์ยาวนานซึ่งชาวบ้านโพนจาน เล่าว่าแรกเริ่มนั้นบรรพบุรุษของตนได้อพยพมาจากดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง บาตั้งรกรากบริเวณต้นน้ำ ห้วยกุดยางซึ่งบริเวณนั้นมีต้นยางใหญ่และมีรังผึ้งหลวงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านฮ้างต้นผึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2260 ชาวบ้านได้อพยพไปทางเหนือ และเปลี่ยนชื่อบ้านเป็น บ้านนาจาน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2300 ได้เกิดโรคระบาดร้ายแรง จึงพากันย้ายถิ่นฐานมาตั้งบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นเนินหรือโพน และมีต้นจานเป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่าบ้านโพนจาน ต่อมามีชาวไทยโส้บ้างส่วนได้อพยพมาสมทบแต่อยู่คนละฟากฝั่งท้องทุ่ง และได้รวมเอาชาวบ้านห่วยไร่เข้าเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ตั้งเป็น บ้านบงคำ ทำให้ชาวกะเลิงที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ระแวกนั้นแยกตัวออกไปทางทิศตะวันตก เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
    ชาวไทยโส้บ้านโพนจาน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียงเคียงคู่ธรรมชาติ และยังมีความเชื่อในเรื่องผี และอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธ์เหนือธรรมชาติดังนั้นชนเผ่าไทยโส้ยังคงมีวิถีชีวิต ความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามอยู่คู่ชุมชนอย่างเหนียวแน่น ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นอักลักษณ์ของชุมชน คือ การประกอบพิธีกรรมแชงชะนาม จะจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน นอกจากนี้ยังมียังมีดอนปู่ตา วัดโพนทราย และแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร เช่น สวนยาพารา สวนพริก และยังมีแหล่งท่องเที่ยวใกล้ๆชุมชน เช่น พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดศรีสว่างบ้านกลางจาน พระธาตุจำปา และพระธาตุโพนสวรรค์ บ้านโพนจา อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนั้นคณะกรรมการหมู่บ้านจึงได้ประชุมปรึกษาหารือเพื่อทำแพ็กเกจท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับแขงที่มาเยี่ยมเยือน โดยมีโปรแกรมท่องเที่ยวของหมู่บ้านอีกด้วย

การประกอบอาชีพ
          ชนเผ่าไทยโส้ประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา ทำสวน ทำไร่ อาชีพเสริม คือ การทอผ้า ซึ่งลวดลายผ้ามีความประณีตสวยงาม ลวดลายผ้ามีเอกลักษณ์โดยเฉพาะ ส่วนพ่อบ้านเน้นการหัตถกรรมเกี่ยวกับเครื่องใช้ในครัวเรือนและอุปกรณ์ทำมาหากิน เช่น กระติ๊บข้าว หวด กะกล้า ตะข้อง เป็นต้น

ความเชื่อ ประเพณี ความสำคัญ
      ชาวไทยโส้จะมีความเชื่อในเรื่องผี และอำนาจเหนือธรรมชาติมาแต่อดีตซึ่งความเชื่อเหล่านี้ยังได้รับการสืบสอดอย่างเหนียวแน่นมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นสาเหตุทำให้ชาวไทยโส้ ตั้งกุศโลบายในการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคารพบูชาผีไร่ผีนา โดยเฉพาะพิธีกรรมแชงชะนามที่กระทำสืบทอดกันมาทุกปี อีกทั้งพิธีกรรมดังกล่าวยังเป็นกุศโลบายที่จะใช้ในการเริมสร้าง ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เนื่องจากเป็นพิธีที่พ่อแม่ลูกหลานจะอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตากันและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการเตรียมประกอบพิธีอย่างชัดเจน
พิธีเหยา เป็นพิธีกรรมที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่ง ในอดีต เมื่อมีสมาชิกภายในครอบครัวเจ็บป่วย ชาวไทยโส้จะมีความเชื่อว่าเป็นเพราะผู้ป่วยไปทำผิดผีหรือล่วงเกิน ผีไร่ ผีนา ผีป่า ผีเขา
พิธีกรรมแชงชะนาม เป็นพิธีกรรมที่เชื่อมโยงมาจากพิธีเหยา ที่ชาวไทยโส้บ้านโพนจานกระทำเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีและความเคารพต่อผีไร่ ผีนา ผีป่า ผีเขา และผีบรรพบุรุษ ที่ลูกแก้วเชื่อว่าได้ดลบันดาลให้ตนเองหายเจ็บป่วยจากอาการต่าง ๆ และถื่อว่าเป็นการแสดงความเคารพและขอบคุณแม่แก้หรือหมอเหยา
การแสดงโส้ทั่งบั้ง โส้ทั่งบั้งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยโส้บ้านโพนจาน เป็นพี่ธีการในการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือเรียกขวัญและรักษาผู้ป่วยกับพิธี ขางกระมูด ในงานศพกับพิธีเหยา ในการเรียกขวัญ ภูมิปัญญาชาวบ้านเหยาเพื่อนรักษาโรคต่างๆ ซึ่งเป็นความเชื่อตั้งแต่เดิมมา

วิถีการกินอยู่ อาหารพื้นบ้าน
    ชนเผ่าไทยโส้บ้านโพนจาน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่พอเพียง มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน ดำเนินชีวิตโดยพึ่งพาธรรมชาติ ดังนั้นอาหารการกินของชนเผ่า จึงขึ้นอยู่กับฤดูกาลตามธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมป่าชุมชนเป็นแหล่งรวบรวมอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นชนเผ่าไทยโส้จึงถือเป็นความโชคดีที่ธรรมชาติสร้างสรรค์อาหารอันโอชะให้ เช่น เห็ดต่างๆ ตามฤดูกาล ไข่มดแดง แมงแคง จักจั่น

การแสดง
           โส้ทั่งบั้ง

อาหารเด่นประจำชนเผ่า
           1. จุบเที๊ยอก (น้ำพริกเห็ดป่า) อาหารประจำธาตุ “ลม”
ความเป็นมาของอาหาร
           สมัยก่อนชาวไทยโส้จะใช้ชีวิตที่เรียบง่าย หาของป่ารับประทาน ส่วนใหญ่จะเป็นการเก็บเห็ดป่านำมาประกอบอาหาร เพราะเห็ดหาง่ายและมีเกือบทุกฤดู จึงเลือกเห็ดป่าขึ้นมาเป็นเมนูหลักของชนเผ่า
ประโยชน์ทางอาหาร
           เห็ดลม หรือเห็ดกระด้าง หรือเห็ดบด เป็นเห็ดตระกูลเดียวกับเห็ดหอม กล่าวคือ เป็นเห็ดที่มีสารเบต้ากลูแคน ที่มีขนาดของโมเลกุลสูง มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งเต้านมได้เป็นอย่างดี
           2. จวกเมี้ยงตะแวนป่อง (ตำเมี้ยงไทโส้)  อาหารประจำธาตุ “ลม”
ความเป็นมาของอาหาร
         เนื่องด้วยชาวไทยโส้เป็นกลุ่มคนที่กินง่ายอยู่ง่าย พืชผัก ผลไม้ สมุนไพรที่ปลูกไว้ในบ้านจึงสามารถนำมาประกอบอาหารได้หมดและอาหารแต่ละอย่างที่ประกอบขึ้นมาล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *