ชนเผ่าไทอีสาน

นิทรรศการ

ประวัติความเป็นมา

        ไทยอีสาน เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ พูดภาษาไทย-ลาว ภาษาอีสาน เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีต คอง ตำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณี นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “โนน” ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ อาศัยอยู่ทั่วไปเรื่องถิ่นเดิมของชาติพันธุ์ลาวมีแนวคิด 2 อย่าง ซึ่งก็มีเหตุผลสนับสนุนพอ ๆ กันคือ
       1. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานนี่เอง ไม่ได้อพยพมาจากไหน ถ้าเหมาว่าคนบ้านเชียงคือลาว ก็แสดงว่าลาวมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเชียงมากกว่า 5,600 ปีมาแล้ว เพราะอายุหม้อบ้านเชียงที่พิสูจน์โดยวิธีคาร์บอน 14 บอกว่าหม้อบ้านเชียงอายุเก่าแก่ถึง 5,600 ปี กว่าคนบ้านเชียงจะเริ่มตีหม้อใช้ในครัวเรือน ก็ต้องสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยก่อนหน้านั้นแล้ว แนวความคิดนี้ยังบอกอีกว่านอกจากลาวจะอยู่อีสานแล้ว ยังกระจายไปอยู่ที่อื่นอีก เช่น เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ยุโรป แล้วข้ามไปอเมริกาเป็นพวกอินเดียนแดง
         2. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานและมีมาจากที่อื่นด้วย แนวคิดนี้เชื่อว่า คนอีสานน่าจะมีอยู่แล้วในดินแดนที่เรียกว่า “อีสาน” หรือส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ โดยประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา นักมานุษยวิทยา และนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าได้มีการอพยพของพวกละว้า หรือข่าลงมาอยู่ในแดนสุวรรณภูมินับเป็นคนพวกแรกที่เข้ามาพอเข้ามาอยู่สุวรรณภูมิก็แบ่งเป็นอาณาจักรใหญ่ๆ 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรทวารวดี ซึ่งมีนครปฐมเป็นราชธานี มีอาณาเขตถึงเมืองละโว้(ลพบุรี) อาณาจักรที่สองคือโยนก เมืองหลวงได้แก่เมืองเงินยาง หรือเชียงแสน มีเขตแดนขึ้นไปถึงเมืองชะเลียงและเมืองเขิน อาณาจักรที่สามคือโคตรบูรได้แก่บรรดาชาวข่าที่มาสร้างอาณาจักรในลุ่มน้ำโขงมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโคตรบูรณ์ ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจากแนวคิดที่ 2 จะเห็นว่าในคำรวมที่นักมานุษยวิทยา และ นักประวัติศาสตร์เรียกว่า “คนอีสาน” นั้นน่าจะมีคนหลายกลุ่มหลายชาติพันธุ์ปะปนกันอยู่และในหลายกลุ่มนั้นน่าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ ลาว อยู่ด้วย

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
         1. เยี่ยมชมหมู่บ้านวิถีดั้งเดิม และชมการผลิตดนตรีอีสาน
         2. เยี่ยมชมบ้านไทลาวแบบโบราณ

การประกอบอาชีพ
       ชาวไทยอีสาน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีการจับปลาเป็นอาหาร และชาวลาวยังทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น ปั้นหม้อ สานตะกร้า ทอผ้า เป็นต้น ผู้หญิงลาวจะมีหน้าที่ ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ตำข้าว เตรียมอาหาร ทำครัว เพาะปลูกเก็บเกี่ยว ส่วนผู้ชายจะทำงานหว่านไถนา ชาวลาวมีการนับถือญาติทั้งสองฝ่าย เมื่อชายหญิงแต่งงานแล้วจะอาศัยอยู่บ้านฝ่ายหญิงระยะหนึ่งหลังจากนั้นจะย้ายออกไปตั้งเรือนใหม่ ลูกสาวมักได้รับมรดกจากพ่อแม่ และมักจะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของตนหลังจากแต่งงาน

ความเชื่อ ประเพณี ความสำคัญ
       1. ประเพณีฟ้อนรำแบบดั้งเดิม
       2. ประเพณีบายศรีสู่ขวัญสำหรับนักท่องเที่ยว

วิถีการกินอยู่ อาหารพื้นบ้าน
       ชาวอีสานรับประทานข้าวเหนียว อาหารหลักของชาวบ้าน คือ เครื่องจิ้ม เช่น แจ่วบอง ป่น กับผัก ส้มตำ แกง อ่อม จากเนื้อสัตว์และพืชผักที่หาได้ตามไร่นา ส่วนอาหารพิเศษอื่นๆ ได้แก่ ลาบ ก้อย เนื้อย่าง นั้นจะบริโภคเมื่อมีงานบุญ หรือการเลี้ยงฉลองเท่านั้น ส่วนอาหารที่รับประทานกันทุกๆ วัน เช่น ปลาแดกทรงเครื่อง (ปลาร้าทรงเครื่อง) ปลาค่อรสนัว (ปลาช่อนนึ่งตรึงใจ) กับ น้ำพริก ตำบักหุ่ง (ส้มตำ) ข้าวเหนียวแดงโบราณ

การแสดง
         1. ออนซอนเสียงแคน
         2. รำแมงภู่ตอมดอก

อาหารเด่นประจำชนเผ่า
        1. ปลาแดกทรงเครื่อง (ปลาร้าทรงเครื่อง)  อาหารประจำธาตุ “ลม”
ความเป็นมาของอาหาร
        เป็นอาหารพื้นเมืองที่ทำจากปลาร้าและมีการปรับเปลี่ยนเป็นน้ำพริกประกอบอาหารประเภทอื่นๆ(อาหารคาวหวาน) ที่มีส่วนประกอบหรือส่วนผสมหลายอย่าง (เครื่องปรุง)ที่มีรสชาติกลมกล่อมหรืออร่อยมากขึ้นกว่าน้ำพริกอื่นๆ
ประโยชน์ทางอาหาร
        เป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของชาวอีสาน เป็นส่วนประกอบอาหารประเภทอื่นๆได้เป็นอย่างดีมีส่วนผสมของสมุนไพร มีส่วนปลอดภัยและไม่มีสารพิษ
        2. ปลาค่อรสนัว (ปลาช่อนนึ่งตรึงใจ) กับ น้ำพริก  อาหารประจำธาตุ “น้ำ”
ความเป็นมาของอาหาร
        เป็นอาหารพื้นถิ่นที่มีมาตั้งแต่โบราณ และสามารถทำรับประทานได้ตลอดปี มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตของอีสานที่ยาวนาน
ประโยชน์ทางอาหาร
        เป็นอาหารหลัก (โปรตีน) มีอยู่ตามท้องถิ่นคนนิยมรับประทาน
        3. ตำบักหุ่ง (ส้มตำ) อาหารประจำธาตุ “”
ความเป็นมาของอาหาร
       ถ้าพูดถึงอาหารการกินทางภาคอีสาน อย่างแรกที่หลายๆคนนึกถึงคงจะหนีบ่พ้น “ตำบักหุ่ง” หรือ “ส้มตำ” อาหารจานหลักในตำนานที่ไม่ได้นานอย่างที่หลายๆคนคิด ส้มตำ เป็นอาหารที่ชาวอีสานปรุงขึ้นจากผักผลไม้ที่ขึ้นตามท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น มะระกอ มะเขือเทศ มะนาว ฯลฯ นำมาปรุงรสชาติด้วยน้ำปลาร้าที่เป็นเครื่องปรุงที่มีชื่อเสียงของอีสาน

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *