ชนเผ่าไทกวน

นิทรรศการ

      มีประวัติความเป็นมาจากแค้วนสิบสองจุไทย ซึ่งขุนบรม เป็นผู้ก่อตั้งเมืองแถง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ตั้งเมืองนาน้อย อ้อยหนู ปู่แสนบางนางแสนเก้าหรือเมืองแถง เกิดทุพพิกภัย จึงได้อพยพมาทางใต้ อาศัยอยู่ตามลำน้ำเซน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์น้ำต่างๆ เป็นที่ราบระหว่างหุบเขาชาวบ้านเรียกว่า กวน ซึ่งหมายถึงพื้นที่แวดล้อมด้วยภูเขา ณ บริเวณแห่งนั้น

      จึงได้ตั้งเมืองหลวง ป่งลิง/ปุงลิงมีเมืองผาบัง วังคำ อยู่ริมน้ำเซน้อย (เซบั้งไฟ) ซึ่ง น้ำเซบั้งไฟนี้ไหลลงสู่แม่น้ำโขงตรงข้าม อำเภอธาตุพนม เมืองหลวงป่งลิง/ปุงลิง เป็นชาวเมือง ซึ่งมาจากเมืองนาน้อย อ้อยหนู ปู่แสนบางนาแสนเก้า   มีการปกครองแบบชาวอีสานโบราณ คือมีเจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงศ์ราชบุตร เป็นผู้ปกครองเมืองอิสระปกครองกันมาหลายชั่วอายุคนผู้ปกครององค์สุดท้ายปรากฏชื่อ ท้าวไทยทรงยศหลังจากเผ่าไทยกวนได้มาอยู่ดินแดนมรุกขรนคร พร้อมบรรพบุรุษแล้ว ก็ได้ตั้งถิ่นฐานตามริมน้ำบังฮวกตรงบริเวณที่เรียกว่า บ้านฮ้างขัวกกตาล 

      กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้มีญาติจากเมือง ปุงลิง ผาบัง วังคำมีแม่เฒ่าศรีสองเมืองเป็นหัวหน้า ตั้งบ้านอยู่บ้านทุ่งนาใน ในฤดูแล้งขาดแคลนน้ำ จึงได้ย้ายไปอยู่หัวดงนานอก ทางไปบ้านดงยอ นานอกคือ ทุ่งใหญ่ นาใน คือ ทุ่งตะวันออกบ้านนาถ่อนทุ่งต่อมาเกิดโรคระบาดจึงย้ายจากบ้านฮ้างผามเพียงมาอยู่บ้านดงไม้ถ่อน คือ บ้านนาถ่อนทุ่งตราบจนปัจจุบันนี้   

เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
      จุดที่ 1 ที่ทำการสภาวัฒนธรรมชมการตีเหล็ก
      จุดที่ 2 เยี่ยมชมการตีเหล็กแบบปัจจุบัน
      จุดที่ 3 เยี่ยมชมป่าชุมชน บ่อเกลือสินเธาว์
      จุดที่ 4 เยี่ยมชมปู่ตาแสง
      จุดที่ 5 เยี่ยมชมสักการะพระจักรพรรดิ ณ วัดศรีมงคล
      จุดที่ 6 เยี่ยมชมขุมเงิน ณ วัดแก้วเสด็จ
      จุดที่ 7 เยี่ยมใบเสมา ณ วัดโพธิ์ลานช้าง

การประกอบอาชีพ
       ส่วนมากแล้วชาวไทยกานทำอาชีพทำการเกษตร ทำนา เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงโคขุด และตีเหล็ก (ผู้หญิงเสร็จจากหน้านา ก็จะมาช่วยผู้ชายตีเหล็ก) และยังมี กลุ่มทอผ้า กลุ่มจัดสาน กลุ่มทำแหนม ตีเหล็ก (พอเสร็จจากหน้านา ผู้หญิงก็จะมาช่วยผู้ชายตีเหล็ก) และกลุ่มทำขนมจีนที่ไม่ใช้แป้ง แต่ใช้ข้าวหมักแทน

ความเชื่อ ประเพณี ความสำคัญ
      ชนเผ่าไทยกวนนับถือผีบรรพบุรุษ โดยวันที่ 25 ตุลาคม ของทุกปี จะมีพีธีการรำบวงสารวง ศาลปู่ตาแสง เพื่อปกป้องรักษาคนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมการฟ้อนรำไทยกวน โดยเลียนแบบท่ามาจากสัตว์ป่า ได้แก่ ช้างขึ้นภู งูเล่นหาก กวางโชว์เขา เสือออกล่า เต่าออกลาย ควายตั้งท่า ม้าออกศึก ระทึกกระทิงเปลี่ยว ขับเคี่ยวขบวนลิง สิงห์คำราม เป็นต้น
      วิถีการกินอยู่ อาหารพื้นบ้าน แกงขี้เหล็กใส่หนังเค็ม ต้มไก่ลาด แจ่วหนังเค็ม ขนมหวานจะเป็น ข้าวต้มโคม การแสดง

อาหารเด่นประจำชนเผ่า
1. ต้มไก่ลาดใส่ใบบักขามอ่อน (ต้มไก่บ้านใส่ใบมะขามอ่อน) 
    อาหารประจำธาตุ “ลม”
    ความเป็นมาของอาหาร  ต้มไก่เป็นอาหารพื้นบ้านของคนอีสาน ชาวไทยกวนนิยมเลี้ยงไก่เพื่อเป็นอาหารและจำหน่าย 
    ประโยชน์ทางอาหาร      ช่วยในการระบาย
2. อ่อมขี้เหล็กใส่หนังเค็ม (แกงขี้เหล็กใส่หนังเค็ม)
    อาหารประจำธาตุ “ไฟ”
    ความเป็นมาของอาหาร ใบขี้เหล็ก เป็นอาหารที่หาง่ายและมีสรรพคุณทางยา ชาวบ้านจึงนิยมนำใบขี้เหล็กมาประกอบอาหาร
    ประโยชน์ทางอาหาร      ช่วยในระบบขับถ่าย
3. แจ่วหนังเค็ม (น้ำพริกหนังเค็ม)
    อาหารประจำธาตุ “ลม”
    ความเป็นมาของอาหาร หนังเค็มทำจากหนังวัวหรือควายก็ได้ เป็นการเก็บรักษาอาหารไว้ให้กินได้นานๆ อย่างหนึ่งของชาวอีสาน วิธีการทำหนังเค็มก็คือเอาหนังวัวหรือหนังควายมาหั่นเป็นริ้วยาว จากนั้นนำไปตำหรือคลุกใส่กับรำและเกลือ แล้วนำมาใส่ไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิดเก็บไว้ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นก็นำเอามาตากแดดให้แห้ง เวลากินก็เอามาเผาไฟให้ขนและหนังไหม้เกรียมแล้วใช้ไม้หรือสากทุบเอาขี้เถ้าไฟออก แล้วหั่นกินตอนร้อนๆ หรืออาจนำเอาไปทำอาหารก็ได้ โดยหนังเค็มนั้น สามารถนำมาปรุงกับแกงขี้เหล็ก เผาไฟกินเป็นกับแกล้ม ทำได้หลากหลายเมนูและที่สำคัญ เก็บไว้กินได้นานเป็นหลายเดือน
    ประโยชน์ทางอาหาร       มีโปรตีนสูง
4. ข้าวต้มโคม (ข้าวต้มมัด)
     อาหารประจำธาตุ “ดิน”
     ความเป็นมาของอาหาร  ข้าวต้มมัดเป็นหนึ่งในขนมไทย ที่น้อยคนนักจะบอกว่าไม่รู้จัก เนื่องจากเป็นขนมที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางอาหาร สามารถหาวัตถุดิบในการทำได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นขนมที่นำข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยนำมาประยุกต์ ปรุงแต่งเป็นขนมหวาน จึงถือได้ว่า “ข้าวต้มมัด” เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษไทย
    ประโยชน์ทางอาหาร       ให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้ความอบอุ่นทำให้ร่างกายสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ดี 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *